ร.พ.กรุงเทพ เผยยิ่งอ้วนมาก! โรคแทรกซ้อนยิ่งอันตราย แนะเทคนิคผ่าตัดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน ลดเสี่ยง ลดโรค
โรคอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากและทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาอีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ฯลฯ เพราะโรคอ้วนมาจากการได้พลังงานจากอาหารมากเกินไปจนเกินความต้องการของร่างกาย และยังขาดการออกกำลังกายร่วมด้วยแต่ขณะเดียวกันโรคอ้วนก็สามารถเกิดขึ้นได้จากยีนและความผิดปกติของต่อมไร้ท่อได้เช่นกันปัจจุบันภาวะอ้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไปทั่วโลกองค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของโรคอ้วนไว้ว่า “ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนต่างๆของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ ศัลยแพทย์ส่องกล้องและการผ่าตัดโรคอ้วน ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยมีผู้ป่วยที่เข้าข่ายโรคอ้วนมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เกิดความต้องการและขาดการออกกำลังกาย หรือแม้แต่ป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนต่างๆก็สามารถเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโรคอ้วน เช่น โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน หยุดหายใจขณะนอนหลับ ความดันเส้นเลือดปอดสูง นิ่วถุงน้ำดี เบาหวาน ฯลฯ และหลายคนที่ได้ให้คำปรึกษาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อลดน้ำหนักและปรับสุขภาพให้ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยตัวเองได้ ซึ่งเกณฑ์สำหรับผู้ที่มีความอ้วนแล้วเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) มากกว่า 30 สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง โดยน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยผลคูณของส่วนสูงเป็นเซนติเมตร จะได้ค่าดัชนีมวลกายคนใช้เหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ รวมถึงวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลซึ่งการรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายไม่เกิน 32.5 จะใช้วิธีการคุมปริมาณอาหารลดแป้ง น้ำตาล และไขมัน ร่วมกับการออกกำลังกาย ส่วนกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 32.5 ขึ้นไปและมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์จะแนะนำวิธีลดน้ำหนักด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS) โดย “การผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะอาหาร” เพื่อลดขนาดและลดการดูดซึมของกระเพาะอาหารเป็นการผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็กฟื้นตัวเร็ว โดยแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เนื่องจากมีผลการวิจัยมาแล้วพบว่าคนไข้กลุ่มนี้ใช้วิธีการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือรับประทานยาไม่ได้ผลแล้วกลับมาอ้วนอีกในที่สุดแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้น้ำหนักลดลงได้ในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยให้ลดอัตราการใช้ยาในการรักษาโรคหัวใจและเบาหวานได้ในคนอ้วนดีขึ้นลดโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย
วิธีการผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะมี 3 เทคนิค ด้วยกัน คือ
การใส่หูรูดรัดกระเพาะ(Laparoscopic Gastric banding) เป็นการนำซิลิโคนรัดบริเวณส่วนต้นของกระเพาะอาหารให้มีขนาด 30 cc. ทำให้คนไข้รู้สึกอิ่มเร็วเพราะกระเพาะเล็กลง ไขมันที่ห่อหุ้มกระเพาะจะหายไป คนไข้ทานได้เกือบปกติ น้ำหนักจะลดลง 60% ของน้ำหนักส่วนเกิน แต่วิธีนี้ไม่เหมาะกับคนไข้ที่อ้วนมากๆ ต้องมีการดูแลหลังการผ่าตัดอย่างใกล้ชิด คนไข้ต้องมีวินัยสูงในการรับประทานอาหารที่กำหนดไว้หลังการผ่าตัด
การตัดกระเพาะแบบบายพาส ( Laparoscopic REY Bypass Gastrectomy) จะใช้วิธีการสอดกล้องทำการผ่าแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง จากนั้นแพทย์จะทำการสอดใส่เครื่องมือเข้าไป เพื่อทำการผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลงเป็นกระเปาะ และตัดลำไส้บายพาส 150 แล้วนำเอาเซนติเมตรเพื่อมาต่อกับกระเปาะและไปเชื่อมกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ส่วนแรกไป (บายพาส) มาต่อกับลำไส้ส่วนที่สองการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คนไข้ต้องเคี้ยวอาหารให้ละเอียดที่สุด เพราะอาหารไม่ผ่านการย่อยในกระเพาะ
สุดท้ายคือ วิธีการผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะอาหารแบบสลิฟ (Laparoscopic Steeve Gastrectomy-LSG) วิธีนี้เหมาะกับคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายประมาณ 35 ปีขึ้นไปและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่า2 โรค ขึ้นไป เป็นการผ่าตัดเพื่อนำกระเพาะออกไปประมาณ 80% ซึ่งรวมถึงส่วนที่ผลิตฮอร์โมน นอนไม่ค่อยหลับ ส่วนหนึ่งมาจากความสัมพันธ์ด้านจิตใจ เช่น ความกังวล ซึมเศร้า บางครั้งคนไข้กำลังจะหลับลึก สมองก็จะถูกปลุกให้ตื่นตลอดจนไม่ได้หลักลึกสักที อันดับสามคือ ง่วงนอนมากผิดปกติ สาเหตุหลักคือนอนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการง่วง เพลีย คิดอะไรไม่ออก สมาธิลดลง หากขับรถให้จอดแวะพัก เพราะหากเกิดอาการวูบอาจเกิดอุบัติเหตุได้ อันดับสุดท้ายคือ การนอนไม่มีคุณภาพนอนไม่อิ่ม ตื่นมาไม่สดชื่น หาวตลอด ส่วนหนึ่งมาจากไม่รับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ขณะที่การแก้ไขหรือรักษาจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกายดูความผิดปกติทางระบบประสาท และการทำ Sleep Test โดยเจ้าหน้าที่ติดเครื่องมือเพื่อวัดสัญญาณจากส่วนต่างๆ ของร่างกายและสมอง มีเซ็นเซอร์วางบนศรีษะ เพื่อดูสัญญาณไฟฟ้าสมอง วัดระดับออกซิเจน ลมหายใจ และวัดคลื่นไฟฟ้า หัวใจ โดยมีกล้องจับอยู่ในห้องคนไข้มีสายเคเบิ้ลเชื่อมต่อมาที่ห้องคอนโทรลและคนไข้จะนอนหลับในโรงพยาบาล 1 คืน จากนั้นจะวิเคราะห์ข้อมูลและส่งข้อมูลมาให้คนไข้และนัดคนไข้มารับฟังผล เพื่อหาแนวทางในการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่มารับการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะส่วนใหญ่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย จึงมีความจำเป็นในการพิจารณารักษาภาวะนี้ร่วมด้วยก่อนการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ในช่วงผ่าตัด ส่วนในช่วงหลังผ่าตัดคนไข้จะมีน้ำหนักตัวค่อยๆลดลง มีผลทำให้ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับมีความรุนแรงน้อยลง จึงมีความจำเป็นในการติดตามคนไข้เป็นระยะเพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า คนอ้วนมักเกิดความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างและสุขภาพ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามจิตใจของคนไทยในยุคปัจจุบัน ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคาดหวังแล้วผิดหวังรู้สึกท้อแท้ หลังจากต้องเผชิญกับโรคร้ายที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตอย่างฉับพลัน ซึ่งรูปแบบการให้บริการปรึกษาและฟื้นฟูสุขภาพจิต จะประยุกต์ปรับให้เหมาะสมกับคนไข้และบุคคลเพราะสุขภาพกายที่ดีต้องเริ่มต้นที่จิตใจ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะก็เช่นกัน การให้นักจิตวิทยาดูแลสภาวะจิตใจของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการผ่าตัด ที่อาจเกิดความเครียดขึ้นได้ ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวล รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้หลังการผ่าตัด การทำให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลาย คอยสำรวจดูแลความแข็งแรงของจิตใจผู้ป่วย ก็จะเป็นส่วนช่วยให้จิตใจแจ่มใสอย่างสม่ำเสมอ และผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติโดยเร็วอย่างมีความสุข
แพทย์หญิงสุภัค กาญจนาภรณ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึงโรคอ้วนเป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงวัย การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งวิธีทีจะช่วยลดน้ำหนักได้ สำหรับคนไข้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดลดกระเพาะอาหาร ในช่วงก่อนการเข้ารับการผ่าตัดลดกระเพาะอาหาร ลักษณะของการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับคนอ้วนจะมีหลักเกณฑ์เหมือนกับคนทั่วไป แต่สิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างมากคือการบาดเจ็บของข้อต่อและกล้ามเนื้อ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากก็ยิ่งทำให้เพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น หากมีการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอก็จะช่วยให้ความผิดปกติเหล่านี้บรรเทาลงได้ สิ่งสำคัญควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ลดการกระแทกรุนแรง เช่น อาจออกกำลังกายด้วยการเดิน การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น ขณะที่การออกกำลังกายหลังการผ่าตัด อย่างน้อยในช่วงสองเดือนแรกยังไม่ควรออกแรงมาก และไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากนัก อาจใช้วิธีการเดินเพื่อได้การบริหารร่างกายในทุกส่วน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการที่จะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักผู้ป่วยต้องมีความมุ่งมั่นจะช่วยให้เกิดผลการรักษาที่ดีและคงผลลัพธ์การลดน้ำหนักได้อย่างยาวนาน
แพทย์หญิงวีรนุช โรจน์ยินดีเลิศ อายุรแพทย์ด้านโภชนาการ โรงพยาบาลกรุงเทพ เสริมว่าเป้าหมายการลดน้ำหนัก คือลดไขมันส่วนเกิน และรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ลอดการลดน้ำหนัก การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดโดยการลดน้ำหนัก ให้ได้มากที่สุดก่อนผ่านตัดจะช่วยให้การผ่าตัดง่ายขึ้นสำหรับศัลยแพทย์ ลดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด และยังเป็นการตรวจเช็คด้านความเข้าใจในการเปลี่ยนอุปนิสัยการทานอาหารและออกกำลังของผู้ป่วยอีกด้วย ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับรู้เรื่องราวการเลือกทานอาหารที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องอดอาหารเพื่อให้ลดน้ำหนักก่อน ผ่าตัดให้ได้ผลมากที่สุด สำหรับคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดจะรับประทานอาหารได้น้อยลงและน้ำหนักตัวจะค่อยๆลดลง อย่างปลอดภัยภายใต้คำแนะนำและการดูแลของทีมแพทย์และนักกำหนดอาหาร จะเน้นเลือกทานโปรตีนได้ครบถ้วนเพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ เน้นปริมาณไขมันและน้ำตาลต่ำเพื่อควบคุมพลังงานในอาหาร ปรับการรับประทานอาหารให้ช้าลงโดยการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้นเพื่อป้องกันอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและระคายเคือง กระเพาะอาหาร ควรหยุดทานอาหารเมื่ออิ่มแล้ว และใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการรับประทานอาหารต่อมื้อ เมื่อทานอาหารได้ถูกต้องร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อระหว่างลดน้ำหนักได้ ซึ่งจะเป็นการป้องกันภาวะน้ำหนักขึ้นใหม่ในระยะยาวได้ดี จะเห็นได้ว่ารูปแบบการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการที่จะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก ผู้ป่วยต้องมีความมุ่งมั่นจะช่วยให้เกิดผลการรักษาที่ดี และคงผลลัพธ์การลดน้ำหนักได้อย่างยาวนาน
ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอแนะนำการผ่าตัดกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วนและมีโรคแทรกซ้อน เพื่อเข้ารับการรักษา ช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายรวมถึงจิตใจที่ดีขึ้น สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ โดยทีมศัลยแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งมีประสบการณ์การผ่าตัดมากว่า 800 ราย และทีมแพทย์หลากหลายสาขาวิชา อาทิ ศัลยแพทย์ส่องกล้องและผ่าตัดโรคอ้วน อายุแพทย์เบาหวานและเมตาบอลิซึม แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักจิตวิทยา นักกำหนดอาหารและพยาบาลเฉพาะทาง พร้อมให้ความรู้และคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดตลอดการรักษา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02 310 3788 หรือ Contact Center โทร. 1719
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น